Panchkhal: เมืองอัจฉริยะแห่งแรกของเนปาล

Panchkhal: เมืองอัจฉริยะแห่งแรกของเนปาล

วันที่นำเข้าข้อมูล 4 ก.ค. 2565

วันที่ปรับปรุงข้อมูล 4 ก.ค. 2565

| 1,285 view

Panchkhal_Ready_to_Become_the_First_Smart_City_of_Nepal

หนังสือพิมพ์ Newbusinessage ฉบับวันที่ 28 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2022 เมือง Panchkhal มีความพร้อมที่จะเป็นเมืองอัจฉริยะแห่งแรกของเนปาล ภายใต้รูปแบบความร่วมมือภาครัฐและเอกชน (Public-Private Partnership: PPP) รวมมูลค่าการลงทุนในระยะแรก 2.5 พันล้านรูปีเนปาล

เมืองอัจฉริยะ Panchkhal มีพื้นที่ครอบคลุม 5,500 ropanis หรือประมาณ 691.82 เอเคอร์ ซึ่งรวมถึงที่ดินที่จัดสรรไว้เพื่อการเกษตร โดยได้รับความยินยอมของคนในพื้นที่ในการรวมที่ดิน (land pooling) ภายใต้กระบวนการสร้างเมืองอัจฉริยะด้วยการลงทุนจาก Nepal Infrastructure Bank (NIFRA)

นาย Mahesh Kharel นายกเทศมนตรีเทศบาลเมือง Panchkhal ระบุวิสัยทัศน์ที่จะสร้างเมืองอัจฉริยะ 5 แห่งในเมือง Panchkhal ใน 20 ปีข้างหน้า โดยคนในพื้นที่พร้อมที่จะมอบที่ดินสำหรับการพัฒนาถนน สวนสาธารณะ และโครงสร้างอื่น ๆ ไม่เกิน 30-35% ภายใต้เงื่อนไขว่าที่ดินเหล่านั้นยังคงเป็นชื่อตน(ยกเว้นที่ดินที่ใช้ทำสิ่งปลูกสร้าง) และจะได้รับที่ดินคืน เนื่องจากที่ผ่านมา แนวคิดในการพัฒนาเมืองอัจฉริยะด้วยการซื้อที่ดินล้มเหลวในหลายพื้นที่

ก่อนหน้านี้ NIFRA ได้บรรลุข้อตกลงกับบริษัท JLL ของสหรัฐอเมริกา ในการจัดทำ detailed project report (DPR) เกี่ยวกับตลาดสำหรับโครงการเมืองอัจฉริยะที่เมือง Panchkhal ในเขต Kavrepalanchok เป็นเวลา 2 เดือน โดยคำนึงว่า บริษัทฯ ได้จัดทำ DPR ในประเทศอื่น ๆ เช่น อินโดนีเซีย สิงคโปร์

ในระหว่างนี้ เทศบาลเมือง Panchkhal ได้สั่งห้ามการก่อสร้างบนนาข้าว เนื่องจากเมืองอัจฉริยะจะถูกพัฒนาในพื้นที่ที่ไม่มีการชลประทานและเพาะปลูก และจะย้ายพื้นที่อยู่อาศัยไปยังบริเวณภูเขา โดยทำให้เมือง Panchkhal เป็นทางเลือกแทนกรุงกาฐมาณฑุ ซึ่งมุ่งให้กลายเป็นเมืองเทคโนโลยีสูง โดยผสมผสานพื้นฐานของเมืองอัจฉริยะต่างๆ พร้อมการบริหารจัดการชุมชนแออัดที่ยังไม่มีการจัดระเบียบ

นายกเทศมนตรีเทศบาลเมือง Panchkhal กล่าวเสริมว่า การสร้างเมืองอัจฉริยะ รวมถึงการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน ด้วยงบประมาณของรัฐบาลกลาง จะใช้เวลาถึง 50 ปี จึงทำให้ต้องใช้กระบวนการลงทุนในรูปแบบ PPP ซึ่งระดมโดย NIFRA และประสานงานโดยเทศบาล ในขณะที่ที่ดินจะได้รับการพัฒนาในนามของคนในพื้นที่ โดยมีการลงนามในข้อตกลงไตรภาคีระหว่างธนาคาร เทศบาล และคนในพื้นที่ ในการพัฒนาที่ดินนี้

แหล่งที่มา
https://www.newbusinessage.com/Articles/view/14846