EU และ IFC เร่งการลงทุน “climate-smart” ในเอเชียใต้

EU และ IFC เร่งการลงทุน “climate-smart” ในเอเชียใต้

วันที่นำเข้าข้อมูล 7 เม.ย. 2565

วันที่ปรับปรุงข้อมูล 7 เม.ย. 2565

| 690 view

20220210032341_61adcbb3132702612568c2b4_Money-original-large

นิตยสาร New Business Age ฉบับวันที่ 10 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2022 รายงานว่า สหภาพยุโรป (European Union: EU) และบรรษัทเงินทุนระหว่างประเทศ (International Finance Corporation: IFC) ได้มีแถลงการณ์ร่วมเมื่อวันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2565 ระบุว่า ประเทศในเอเชียใต้ 6 ประเทศ รวมถึงเนปาล จะได้รับประโยชน์จากการระดมทุนจาก EU ครั้งใหม่ มูลค่า 21.5 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งคาดว่าจะช่วยเร่งการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานในภูมิภาคที่ climate-smart และครอบคลุม

IFC ในฐานะสมาชิกของกลุ่มธนาคารโลกและหนึ่งในสถาบันด้านการพัฒนาระดับโลกที่ใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่ง ซึ่งให้ความสำคัญกับภาคเอกชนในตลาดเกิดใหม่ จะดำเนินโครงการภายใต้แผนงาน Accelerating Climate-Smart and Inclusive Infrastructure in South Asia (ACSIIS) ซึ่งมีระยะเวลา 5 ปี ตั้งแต่ปี 2564 ถึง 2569 เพื่อช่วยกระตุ้นการลงทุนในด้านพลังงาน น้ำ การบริหารจัดการขยะ การขนส่ง โลจิสติกส์ และอาคารที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อคนและธุรกิจในบังกลาเทศ ภูฏาน อินเดีย มัลดีฟส์ เนปาล และศรีลังกา โดยใช้การลงทุนของภาคเอกชนในภูมิภาค 850 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ทั้งนี้ โดยคำนึงว่า ผลกระทบของ COVID-19 ต่อการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานได้ขยายวงกว้างและรุนแรง ความมุ่งมั่นในการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานโดยการมีส่วนร่วมของภาคเอกชนในปี 2563 ลดลงร้อยละ 52 จากปี 2562 ซึ่งเป็นการลดลงในระดับที่ไม่เคยปรากฏมาก่อน

IFC คาดว่า ประเทศในเอเชียใต้สามารถทำให้เกิดการลงทุนที่ climate-smart มากกว่า 3 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ ในการดำเนินการเพื่อบรรลุเป้าหมายระดับชาติภายใต้ข้อตกลงปารีส ภายในปี 2573

นาย Hector Gomez Ang ผู้อำนวยการภูมิภาคของ IFC ประจำเอเชียใต้ เห็นว่า การดึงดูดเงินทุนของภาคเอกชนสำหรับโครงสร้างพื้นฐานที่ climate-smart ที่ยั่งยืนและครอบคลุม จะมีความสำคัญในช่วงการฟื้นตัวหลังสถานการณ์ COVID-19 ในภูมิภาค โดยการสนับสนุนของ EU ต่อแผนงานดังกล่าวเกิดขึ้นในเวลาที่เหมาะสม เนื่องจากขณะนี้การกระตุ้นโครงการโครงสร้างพื้นฐานที่ยั่งยืนมีความจำเป็นอย่างยิ่ง โดยสามารถใช้ประโยชน์จากประสบการณ์และความเชี่ยวชาญของ IFC ในการสนับสนุนการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานที่ climate-smart ในภูมิภาค รวมถึงการสนับสนุนการพัฒนาการลงทุนที่ climate-smart ในสาขาการเกษตร อุตสาหกรรมการผลิต การท่องเที่ยว สุขภาพ และการศึกษา โดยเน้นหัวข้อที่มีความสำคัญ เช่น เมือง เพศ และการเงินที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ทั้งนี้ ข้อริเริ่มล่าสุดเกิดขึ้นจากหุ้นส่วนที่ผ่านมาของ IFC กับ EU เพื่อสนับสนุนแผนงาน Eco-Cities ในอินเดียและแผนงานอื่น ๆ ในภูมิภาค

ตามแถลงการณ์ร่วมข้างต้น IFC จะสนับสนุนการพัฒนาตลาดในระยะเริ่มต้นโดยผ่าน ACSIIS เพื่อจัดการกับข้อจำกัดที่สำคัญต่อตลาดในวงกว้าง ตลอดจนให้คำปรึกษาทางเทคนิคในระดับโครงการเพื่อจัดโครงสร้างการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานที่ยั่งยืนสำหรับประเทศเป้าหมาย นอกจากนี้ แผนงานดังกล่าวจะสนับสนุนการสร้างศักยภาพของภาครัฐและเอกชนในการปรับปรุงความสามารถในการออกแบบ จัดโครงสร้าง และดำเนินโครงการโครงสร้างพื้นฐานที่ยั่งยืน

 

แหล่งที่มา
https://www.newbusinessage.com/Articles/view/14746